วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติเครื่องสำอาง


ประวัติเครื่องสำอาง


เครื่องสำอางเครื่องสำอาง หมายถึง ผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงเพื่อใช้บนผิวหนัง หรือส่วนใดส่วนหึ่งของร่างกาย โดยใช้ทา ถู นวด พ่น หรือโรย มีจุดประสงค์เพื่อทำความสะอาด หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ คำว่า cosmetics มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า kosmetikos ซึ่งมีความหมายว่า ตกแต่งให้สวยงามเพื่อดึงดูดความ.สนใจจากผู้พบเห็น ( คำว่าkomosแปลว่า เครื่องประดับ) โดยในสมัยแรกๆนั้น ใช้เครื่องสำอางเนื่องจากความจำเป็น เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือธรรมชาติ
กำเนิด และ วิวัฒนาการ เท่าที่ปรากฎในโบราณคดี สันนิษฐานว่าคงมีการใช้เครื่องหอมในพิธีศาสนา สำหรับ บูชาพระเจ้าโดยการเผา ใช้น้ำมันพืชทาตัวหรือใช้อาบศพเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายกันจากประเทศตะวันออก และใช้เครื่องหอมนี้ไม่ต่ำกว่า 5000 ปี เชื่อวาอียิปต์เป็นชาติแรกที่รู้จักศิลปะการตกแต่งและการใช้เครื่องสำอางและแพร่ไปถึงแลสซีเรีย บาบีโลน เปอร์เซียและกรีก เมื่อคราวที่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยกทัพเข้ายึดประเทศอียิปต์ ประเทศในยุโรปบางส่วน ตลอดจนถึงกรีก ทำให้ความรู้เรื่องเครื่องสำอางแพร่หลาย ศูนย์การของความเจริญอยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย จนถึงสมัยจูเลียส ซีซาร์รบชนะกรีก ก็ได้รับศิลปวิทยาการต่างๆมาจากกรีก ศูนย์การของศิลปวิทยาการต่างๆได้ย้ายมาอยู่ที่กรุงโรม มีการอาบน้ำหอม ในระยะที่โรมันกำลังรุ่งเรือง ซีซาร์ได้ยกกองทัพไปตีอียิปต์ซึ่งมีพระนางคลีโอพัตราเป็นราชินี รู้จักวิธีการใช้ศิลปะการตกแต่งใบหน้าและร่างกาย ทำให้การใช้เครื่องสำอางเป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 Galen บิดาแห่งเภสัชกรรม กายวิภาค อายุศาสตร์และปรัชญา ได้ประดิษฐ์coldcreamขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมา เมื่อจักรวรรดิโรมันอ่อนกำลังลง ประเทศที่นำหน้าเรื่องเครื่องสำอางคือฝรั่งเศส และมีสเปนเป็นคู่แข่ง




ประวัติเครื่องสำอาง
การใช้เครื่องสำอางจัดเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่มีมาแต่สมัยโบราณ มีการค้นพบว่า มีการใช้เครื่องสำอางมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ จีน อินเดีย และต่อมาจนถึงปัจจุบัน โดยชาวกรีกเป็นชาติแรกที่มีการแยกการแพทย์และเครื่องสำอางออกจากกิจการทางศาสนา และยังถือว่าการใช้เครื่องสำอางเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติต่อร่างกายให้ถูกต้องสม่ำเสมอ เป็นกิจวัตรประจำวัน ศิลปะการใช้เครื่องสำอางและเครื่องหอมได้ถึงขีดสุดในระหว่าง 2 ศตวรรษแรกแห่งอาณาจักรโรมัน แล้วค่อยๆ เสื่อมลง และเมื่ออาณาจักรโรมันเสื่อมอำนาจลงในศตวรรษที่ 5 ศิลปะการใช้เครื่องสำอางจึงแพร่หลายเข้าสู่ทวีปยุโรป นอกจากนี้ ชาวอาหรับก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการผลิตเครื่องสำอาง โดยได้มีการดัดแปลง แก้ไขส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีคุณภาพดีขึ้น เช่น การใช้กรรมวิธีการกลั่นเพื่อให้มีความบริสุทธิ์สูง การใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย เป็นต้น เมื่อศิลปะการใช้เครื่องสำอางได้แพร่หลายเข้าสู่ในประเทศฝรั่งเศสมากขึ้น เจ้าหน้าที่ชาวฝรั่งเศสได้พยายามเสนอให้มีการแยกกิจการด้านเครื่องสำอางไว้เฉพาะ โดยให้แยกออกจากกิจการด้านการแพทย์ เนื่องจากกิจการด้านการแพทย์และเครื่องสำอางต้องอยู่ในการควบคุมของกฎหมาย ในระหว่างปี ค.ศ. 1400 – 1500 และความพยายามก็ประสบความสำเร็จในปี ค.ศ.1600 ศิลปะการใช้เครื่องสำอางได้แยกออกมาจากกิจการด้านการแพทย์อย่างชัดเจน ต่อมาในปี ค.ศ. 1800 ได้มีการรวบรวมและแยกแยะความรู้ในด้านศิลปะการใช้เครื่องสำอางออกเป็นหลายๆ ประเภท เช่น เภสัชกร ช่างเสริมสวย นักเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งต้องใช้ความรู้ที่ได้มาจากเภสัชกรรมและครื่องสำอางมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละอาชีพการผลิตเครื่องสำอางในช่วงแรกๆ นั้น ยังมีกรรมวิธีการผลิตที่ไม่แน่นอน เครื่องสำอางบางประเภทมีขายในร้านขายยา การผลิตเป็นความรู้ส่วนบุคคลที่ได้รับสืบทอดมาหรือได้จากการศึกษาค้นคว้า ลองผิดลองถูก จนถึงปลายศตวรรษที่ 19 ได้มีผู้นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่เข้ามาช่วยในการผลิตแทนวิธีเก่า และเมื่อผลิตเครื่องสำอางแต่ละชนิดจะมีเครื่องหมายการค้าชัดเจน และ มีกรรม วิธีในการผลิตที่แน่นอน ทำให้เครื่องสำอางที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพ สามารถเพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิต ทำให้มีการเพิ่มการผลิต และพยายามปรับปรุงคุณภาพของเครื่องสำอางให้มีคุณภาพสูงขึ้น ต่อมาได้มีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เข้ามาปรับปรุงคุณภาพของเครื่องสำอาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาเคมี ได้มีส่วนเข้ามาช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางให้มีคุณภาพสูง ในการผลิตแต่ละครั้งต้องมีส่วนประกอบที่คงที่ ได้ผลิตภัณฑ์อย่างเดียวกัน มีหลักการเลือกใช้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐานในการผลิต และมีการตรวจสอบคุณสมบัติ ตลอดจนการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในปี ค.ศ. 1895 ได้มีการเปิดสอนวิชาการเครื่องสำอาง ในเมืองชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรก ทำให้นักศึกษาได้รู้จักวิธีการใช้เครื่องสำอางชนิดต่างๆ ในการรักษาผิวหนังและเส้นผม ต่อมาการศึกษาวิชานี้ได้แพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว







คำจำกัดความของเครื่องสำอางคำจำกัดความของเครื่องสำอาง มีมากมายหลายแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ให้ความหมายว่ามีความต้องการสื่อหรือมีวัตถุประสงค์อย่างไรโดยมีหลักการและพื้นฐานในการให้คำจำกัดความดังต่อไปนี้
1. Cosmetics Science and Technology โดย Edward Sagarin พิมพ์ครั้งที่ 1 หน้า 4 - Articles intended to be rubbed, pour, sprinkle, or sprayed on, introduced into, or otherwise applied to the human body or any part thereof for cleansing, beautifying promoting attractiveness, or altering the appearance, and- Articles intended for use as a component of such any article, except that the term shall not include soap.
2. หนังสือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 152-2518) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ได้ให้คำจำกัดความเครื่องสำอางว่า เครื่องสำอางหมายถึง :- ผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงเพื่อใช้บนผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ โดยถู ทา พ่น หรือ โรย เป็นต้น เช่นในการทำความสะอาดป้องกัน แต่งเสริมเพื่อความงาม หรือเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะ- สิ่งใดๆ ที่ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์สิ่งปรุงที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
3. หนังสือพิมพ์เภสัชกรรม สมัยสยาม ปีที่สิบห้า เล่มสาม พฤษภาคม ถึง มิถุนายน พ.ศ.2505 ได้ให้คำจำกัดความว่า เครื่องสำอาง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ทุกอย่างที่มีความตั้งใจหรือจงใจผลิตขึ้นมาสำหรับใช้กับบุคคลใดโดยตรง เพื่อความมุ่งหมายในการทำความสะอาด หรือการทำให้เกิดความสวยงามโดยเฉพาะ ภายใต้กฎหมายควบคุมอาหาร ยา และเครื่องสำอางของสหรัฐอเมริกา ความหมายรวมไปถึง ยาและสารต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วย ซึ่งจะต้องถูกควบคุมตามกฎหมาย และในด้านปฏิบัติการหรือเทคนิคต่างๆ ที่จะใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง รวมทั้งวิธีรักษาและเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการทำความสะอาดร่างกายและการทำให้เกิดความสวยงามที่ใช้ในร้านเสริมสวยด้วย
4. พระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ.2517 เครื่องสำอางหมายถึง1. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ หรือด้วยอื่นใด ต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายเพื่อความสะอาด ความสวยงาม หรือส่งเสริมให้เกิดความสวยงาม ตลอดจนเครื่องประทินผิวต่างๆ ด้วย2. วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอางโดยเฉพาะ หรือ3. วัตถุอื่นที่กำหนดโดยกฎกระทรวงให้เป็นเครื่องสำอาง


คุณลักษณะเครื่องสำอาง
ในการผลิตเครื่องสำอาง มีลักษณะการเตรียมหรือการผลิตเหมือนกับการเตรียมหรือการผสมยา แต่ในกรณีของการเตรียมเครื่องสำอางจะมีลักษณะที่เฉพาะเด่นชัดที่แตกต่างจากการผลิตยาอยู่ 3 ประการ คือ1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอมชวนดม2. มีลักษณะสวยงาม ทั้งลักษณะของผลิตภัณฑ์ รวมถึงการบรรจุหีบห่อ3. ใช้งานได้ง่าย สะดวกต่อการพกพาเครื่องสำอางโดยทั่วไป จะต้องบอกคุณลักษณะของเครื่องสำอางนั้นๆ ไว้ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เช่น ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ วิธีใช้ ข้อควรระวัง ภาชนะและการบรรจุ รวมถึงการทดสอบ การตรวจหาปริมาณ และการวิเคราะห์ต่างๆ


ประโยชน์ของเครื่องสำอาง
1. ช่วยตกแต่งให้ผิวดูเนียนและผุดผ่องขึ้น เช่น แป้งแต่งหน้า ดินสอเขียนคิ้ว ครีมต่างๆ
2. ช่วยทำความสะอาดรักษาอนามัยและสุขภาพผิวของปากและฟัน เช่น สบู่และยาสีฟัน
3. ช่วยกลบเกลื่อนให้แลดูเป็นธรรมชาติ เช่น กลบฝ้าและไฝต่างๆ
4. ช่วยตกแต่งทรงผมให้อยู่ทรง และสวยงามตามที่ต้องการ
5. ช่วยทำให้สบายผิว แก้ความอับชื้น เช่น แป้งฝุ่นโรยตัว
6. ทำให้จิตใจสดชื่น รู้สึกผ่อนคลาย เนื่องจากกลิ่นหอมของเครื่องสำอาง


ประเภทของเครื่องสำอางเครื่องสำอาง
สามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท แต่โดยทั่วไปมักจะแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1. เครื่องสำอางที่ไม่ได้ใช้แต่งสีของผิว เครื่องสำอางประเภทนี้ ใช้สำหรับการทำความสะอาดผิวหนัง หรือใช้เพื่อป้องกันผิวหนังไม่ให้เกิดอันตรายจาสิ่งแวดล้อม เครื่องสำอางประเภทนี้ได้แก่ สบู่ แชมพู ครีมล้างหน้า ครีมกันผิวแตก น้ำยาช่วยกระชับผิวให้ตึง เป็นต้น
2. เครื่องสำอางที่ใช้แต่งสีผิวเครื่องสำอางประเภทนี้ ใช้สำหรับการแต่งสีของผิวให้มีสีสดสวยขึ้นจากผิวธรรมชาติที่เป็นอยู่ เช่น แป้งแต่งผิวหน้า ลิปสติก รู้ช เป็นต้น






เครื่องสำอางที่พบในท้องตลาดอาจจะแบ่งออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้

1. เครื่องสำอางสำหรับผิวหนัง ได้แก่a. ครีมทาผิวb. ผลิตภัณฑ์ขจัดสิวc. ผลิตภัณฑ์ขจัดสีผิวและขจัดฝ้าd. ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและขจัดกลิ่นตัวe. ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดf. ผลิตภัณฑ์ป้องกันแมลงกัดต่อย
2. เครื่องสำอางสำหรับผมและขน ได้แก่a. แชมพูและครีมนวดผมb. ผลิตภัณฑ์ตกแต่งผมc. ผลิตภัณฑ์สำหรับโกนหนวดและกำจัดขน
3. เครื่องสำอางสำหรับแต่งตาและคิ้ว
4. เครื่องสำอางสำหรับแต่งใบหน้าa. ผลิตภัณฑ์พอกและลอกหน้าb. ผลิตภัณฑ์กลบเกลื่อนc. ผลิตภัณฑ์รองพื้นแต่งหน้าd. แป้งผัดหน้าและแป้งโรยตัว
5. เครื่องสำอางสำหรับแต่งแก้ม
6. เครื่องสำอางสำหรับแต่งปาก
7. เครื่องสำอางสำหรับทำความสะอาดผิวปาก และฟันa. ครีมล้างหน้าและครีมล้างมือb. ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก
8. เครื่องสำอางสำหรับเล็บ
9. เครื่องสำอางสำหรับเด็ก
10. ผลิตภัณฑ์น้ำหอม

ส่วนประกอบของเครื่องสำอาง

1. หัวน้ำหอม
1.1 หัวน้ำหอมที่ได้จากธรรมชาติ
1.2 หัวน้ำหอมที่ได้จากการสังเคราะห์

2. ไขมัน ส่วนที่เป็นลาโนลีน
2.1 ไขมันที่ได้จากสัตว์หรือแมลง
2.2 ไขมันที่ได้จากพืช
2.3 ไขมันที่ได้จากน้ำมันแร่
2.4 ไขมันที่ได้จากการสังเคราะห์
3. น้ำมัน
3.1 น้ำมันที่ได้จากสัตว์
3.2 น้ำมันที่ได้จากพืช
3.3 น้ำมันที่ได้จากน้ำมันแร่
3.4 น้ำมันที่ได้จากการสังเคราะห์
4. ตัวทำละลาย
4.1 น้ำ
4.2 แอลกอฮอล์
4.3 เอสเทอร์
4.4 คีโตน
5. สี

สบู่ก้อน
คนไทยผลิตสบู่ก้อนใช้ในครัวเรือนมานาน โดยนำมาเป็นสารชะล้างเอนกประสงค์ จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความนิยมในการใช้แชมพู สบู่เหลวมากยิ่งขึ้น ทำให้ภูมิปัญญาการผลิตสบู่เริ่มถดถอยจนแทบไม่เหลือในปัจจุบัน
ข้อดี 1.เป็นการสนับสนุนการผลิตจากสารตั้งต้นจากวัสดุธรรมชาติที่ผลิตได้เองภายในประเทศ 2. ราคาถูก 3. ใช้ได้นาน
ข้อจำกัด 1. ต้องระมัดระวังในการผลิต เนื่องจากสารตั้งต้นเป้นโซดาไฟ (NaOH) 2. สบู่ที่ได้จะมีค่าpHอยู่ระหว่าง 8-10 ควรใช้เป็นสบู่ถูตัว


ส่วนประกอบหลัก

1. ไขมัน สบู่จะมีคุณภาพดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับชนิดของไขมันที่ใช้เป็นส่วนประกอบ ไขมันที่นำมาใช้มีหลายชนิด มีทั้งน้ำมันชนิดระเหยยาก และไขมัน ไขมันแต่ละชนิดประกอบด้วยกรดไขมันมากกว่า 1 ชนิด โดยรวมตัวกับสารอื่นๆในไขมันอยู่ในรูปกลีเซอไรด์ เมื่อด่างทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน กรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์รวมตัวเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะหลุดออกมาเป็นกลีเซอรีน ดังสมการ : กลีเซอไรด์ + ด่าง ------> เกลือของกรดไขมัน + กลีเซอรีน
กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้
1.1 ไขมันวัว สบู่ที่ได้จะแข็ง มีสีขาว อายุการใช้งานนาน มีฟองน้อยทนนานแต่นุ่มนวล ชะล้างสิ่งสกปรกได้ดี
1.2 น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ได้จะมีเนื้อแข็ง กรอบ แตกง่าย สีขาวข้น มีฟองมาก แต่มักจะทำให้ผิวแห้ง
1.3 น้ำมันปาล์ม สบู่ที่ได้จะแข็งเล็กน้อย ให้ฟองน้อยแต่คงทน ชะล้างสิ่ง สกปรก ได้ดีแต่ทำให้ผิวแห้งและผลิตเองได้ยาก
1.4 น้ำมันละหุ่ง เป็นน้ำมันที่ใช้เพิ่มคุณสมบัติความชุ่มชื้นและนุ่มแก่ผิวสบู่ ช่วย ให้ผิวนุ่มสบู่ที่ได้จะมีฟองขนาดเล็กจำนวนมาก
1.5 น้ำมันมะกอก สบู่ที่ได้จะแข็ง ใช้ได้นาน มีฟองเป็นครีมนุ่มนวลมาก ให้ ความชุ่มชื้นไม่ทำให้ผิวแห้ง เนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศจึงมีราคาแพง
1.6 น้ำมันรำข้าว เป็นแหล่งวิตามินE ให้ความชุ่มชื้น
1.7 น้ำมันงา ให้วิตามินE ให้ความชุ่มชื้น รักษาผิว มีกลิ่นเฉพาะตัว
1.8 น้ำมันเมล็ดทานตะวัน ทำให้สบู่นุ่มขึ้นแต่มีฟองน้อย
1.9 น้ำมันถั่วเหลือง ให้วิตามิน E ให้ความชุ่มชื้น เกิดฟองมากและทำให้เนื้อสบู่ มี รูพรุน ไม่สวยงาม

2. ด่าง
2.1 โซดาไฟ ( sodium hydroxide ) ทำให้ได้สบู่ก้อนแข็ง
2.2 โปตัสเซียม ไฮดรอกไซด์ ( potassium hydroxide ) ทำให้ได้สบู่เหลว
2.3 น้ำขี้เถ้า ปริมาณด่างที่ใช้ทำปฏิกิริยาปกติค่า pH ของผิวหนังค่อนข้างมาทางกรดอ่อน pH ของสบู่ที่ดี ควรอยู่ระหว่าง 8-10 เพื่อให้ผิวหนังที่สัมผัสสบู่ ภายหลังล้างออก จะสามารถปรับสภาพเช่นเดิมอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการทำปฏิกิริยาระหว่าง กรดไขมันและด่าง จึงต้องทำให้ด่างและไขมันหมดพอดี หรือเหลือไขมันเพียงเล็กน้อย ห้ามมีด่างเหลือภายหลังการทำปฏิกิริยา เพราะจะเป็นอันตรายต่อผิวหนัง







สบู่เหลว
สบู่เหลวหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้แทนสบู่อัดก้อนสำหรับผู้ที่มีผิวที่ไวต่อสบู่ก้อน สบู่ที่ใช้ทำสบู่เหลวจะเป็นสบู่ชนิดที่ได้จากการทำปฏิกิริยากรดไขมันด้วยด่างชนิด potassium hydroxide
ข้อดี คือ

1.ผลิตง่ายกว่าสบู่ก้อน 2.อ่อนโยนต่อผิวมากกว่าสบู่ก้อน
ข้อจำกัดคือ
1.มีราคาแพง
2.ใช้สารสังเคราะห์ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
3.ใช้สิ้นเปลื่องเร็วกว่าสบู่ก้อน

ส่วนประกอบหลัก คือ สารชำระล้าง ได้แก่สบู่ของเกลือpotassium หรือเกลือtrithanolamine หรืออาจใช้สารลดแรงตึงผิวชึ่งแบ่งออกเป็น 1. สารชำระล้างชนิดประจุลบ เช่น กลุ่ม fatty alcohol sulfate กลุ่ม fatty alcohol ether sulfate กลุ่ม alkyl ether sulfosuccinate
2. สารชำระล้างชนิดประจุบวก เช่น polyquaternium7,10,22 quaternary esters
3 .สารชำระล้างชนิดไม่มีประจุ
4 .สารชำระล้างชนิดมีสองประจุ เช่น cocamidopropyl betaine

ส่วนประกอบที่อาจผสมเพิ่มเติม ได้แก่
1.สารปรับสภาพผิว ช่วยทำให้ผิวอ่อนนุ่ม
2.สารทำให้ข้น ได้แก่
2.1 coconut diethanolamide
2.2 lauric acid diethanolamide
2.3 เกลือแกง
2.4 PEG 6000 distearate
2.5 PEG-55 propylene glycol oleate
3. สารที่ทำให้เกิดประกายมุก เพื่อให้เกิดความสวยงาม น่าใช้
4. ตัวทำละลาย ใช้ละลายส่วนประกอบที่ไม่ละลายน้ำซึ่งก็คือน้ำหอม โดยนิยมใช้ Tween 20 หรือPEG-40 hydrogenated castor oil 5. สารกันเสีย ที่นิยมใช้ได้แก่
5.1 paraben
5.2 2-bromo-2-nitro-1,3-propanediol
5.3 isothiazolinone derivertives
5.4 1-(3-chloroallyl)-3,5,7-tiaza-1-azoniaadamantane chloride
6. ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น สี น้ำหอม เป็นต้น